วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

วันฉลองแม่พระบังเกิด

วันที่ 8 กันยายน ฉลองแม่พระบังเกิด การฉลองแม่พระที่สำคัญๆนั้นมีต้นกำเนิดมาจากทางพระศาสนจักรตะวันออก หรือพระศาสนจักรที่พูดภาษากรีก เช่นเดียวกัน สำหรับการฉลอง “แม่พระบังเกิด” เป็นพระสันตะปาปาแซร์จิอุสที่ 1 ซึ่งเป็นพระสันตะปาปาที่มีเชื้อสายทางพระศาสนจักรตะวันออก ได้เป็นผู้ที่นำเข้ามาสู่พระศาสนจักรลาตินในปลายศตวรรษที่ 7 การฉลองแม่พระบังเกิด แต่เดิมเป็นวันฉลอง “คล้ายวันเสกวิหารนักบุญอันนาที่กรุงเยรูซาเล็ม” ที่จริงตามคำบอกเล่าที่สืบทอดต่อกันมาว่าเป็นสถานที่พำนักอาศัยของนักบุญยออากิมและนักบุญอันนาซึ่งมีเชื้อสายจากกษัตริย์ดาวิด ท่านทั้งสองเป็นบิดามารดาของพระนางมารีย์ อย่างไรก็ตาม เป็นหน้าที่ของเราที่จะค้นหาความจริงที่ลึกซึ้งในการฉลองแม่พระบังเกิดนี้ นั่นก็คือ การเสด็จลงมาบนแผ่นดินนี้ของพระคริสตเจ้านั้น ได้รับการตระ เตรียมจากพระบิดาเจ้านานนับเป็นศตวรรษ บุคลิกภาพแห่งการเป็นพระเจ้าของพระผู้ไถ่ อยู่ เหนือทุกสิ่งทุกอย่างอย่างไม่มีขอบเขต ยากที่มนุษย์คนใดจะสามารถให้กำเนิดพระองค์ได้ ดังนั้นประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติจึงต้องค่อย ๆ ดำเนินไปด้วยความยากลำบากยิ่งในการตระ เตรียมเงื่อนไขที่จำเป็นต่างๆ สำหรับการเสด็จลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระบุตรพระเจ้า
เพราะฉะนั้น ความศรัทธาภักดีของคริสตชนจึงต้องการจะแสดงออกซึ่งความคารวะต่อบุคคล และเหตุการณ์ที่ได้มีส่วนร่วมในการตระเตรียมการบังเกิดของพระคริสตเจ้าในทุก ๆ ระดับไม่ว่าจะเป็นในระดับมนุษย์ปุถุชนธรรมดา หรือในระดับพระหรรษทานเหนือธรรมชาติก็ตาม นั่นก็คือพระมารดาของพระองค์ การบังเกิดของพระนาง การปฏิสนธิของพระนาง บิดามารดาของพระนางและแม้กระทั่งบรรพบุรุษของ พระนางด้วย ( มธ 1:1-16: 18-23 ) การเชื่อในเหตุการณ์ที่ได้เตรียมไว้ สำหรับการเสด็จลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระบุตรพระเจ้าหมายความว่าเชื่อในความเป็นจริง แห่งการเสด็จลงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระบุตรพระเจ้านั่นเอง ทั้งเป็นการยอมรับถึงความจำเป็นในการร่วมกิจการของมนุษย์ในการที่จะทำให้การช่วยให้โลกได้รอดสำเร็จไปด้วย ความศรัทธาภักดีที่แท้จริงต่อพระนางมารีย์ต้องนำเราไปหาพระเยซูเจ้าเสมอ และการฉลองพระนางมารีย์มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่บูชามิสซา
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ 1.ขอให้การบังเกิดของพระนางมารีย์มารดาของเราทุกคนเตือนเราให้คิดถึงสันติภาพด้วยเถิด 2.ข้าแต่พระนางมารีย์ โปรดช่วยให้เรามีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับพระเยซูเจ้า และในระหว่างพวกเรากันเองและในพระเป็นเจ้าด้วย 3. ข้าแต่พระนางมารีย์ โปรดช่วยเสนอให้เราสักวันหนึ่งได้บังเกิดใหม่ โดยได้รับชีวิตใหม่ในเมืองสวรรค์ ที่มา ประวัตินักบุญตลอดปี เดือนกันยายน www.catholic.or.th
The Nativity of the Blessed Virgin Mary The Spiritual Tradition Regarding Mary's Birth Sacred Scripture does not record Mary's birth. The earliest known writing regarding Mary's birth is found in the Protoevangelium of James (5:2), which is an apocryphal writing from the late 2nd century. What matters is not the historicity of the account, but the significance of Mary's and of every person's birth. In Mary's case, the early Church grew more and more interested in the circumstances surrounding the origin of Christ. Discussion about Mary throws light on the discussion about the identity of Jesus Christ.
The Church usually celebrates the passing of a person, that is, the person's entry into eternal life. Besides the birth of Christ, the Christian liturgy celebrates only two other birthdays: that of St. John the Baptizer and of Mary, the Mother of Jesus. It is not the individual greatness of these saints that the Church celebrates, but their role in salvation history, a role directly connected to the Redeemer's own coming into the world. Mary's birth lies at the confluence of the two Testaments--bringing to an end the stage of expectation and the promises and inaugurating the new times of grace and salvation in Jesus Christ. Mary, the Daughter of Zion and ideal personification of Israel, is the last and most worthy representative of the People of the Old Covenant but at the same time she is "the hope and the dawn of the whole world." With her, the elevated Daughter of Zion, after a long expectation of the promises, the times are fulfilled and a new economy is established. (Lumen Gentium 55) The birth of Mary is ordained in particular toward her mission as Mother of the Savior. Her existence is indissolubly connected with that of Christ: it partakes of a unique plan of predestination and grace. God's mysterious plan regarding the Incarnation of the Word embraces also the Virgin who is His Mother. In this way, the Birth of Mary is inserted at the very heart of the History of Salvation. (M. Valentini, Dictionary of Mary, pp. 36-7.) ที่มา รูปกระจกสี แม่พระบังเกิด www.assumption-cathedral.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น